วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต อาจารย์ผู้สอน อ.ปิยนันท์ คุณากรสกุล

Part >> 1
วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต ครั้งที่ 2
เรื่อง "องค์ประกอบคอมพิวเตอร์"

1. จงอธิบายความหมาย พร้อมยกตัวอย่างของคำดังต่อไปนี้       
                            
- Hardware                                                                                                                                                         
ฮาร์ดแวร์ หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit  : CPU) หน่วยแสดงผล (Output Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage) โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน
I. ฮาร์ดแวร์สำคัญที่พบใน Case ได้แก่
1.1 Power Supply
1.2 Main board และฮาร์ดแวร์ที่ติดตั้งหรือเป็นส่วนหนึ่งของ Main board ที่สำคัญ ได้แก่
1.2.1 CPU
1.2.2 RAM
1.2.3 Expansion Slots
1.2.4 Ports
1.3 Hard Disk
1.4 Floppy Disk Drive
1.5 CD-ROM Drive
1.6 DVD-ROM Drive
1.7 Sound Card
1.8 Network Card
II.ฮาร์ดแวร์สำคัญที่อยู่นอก Case ที่สำคัญได้แก่
2.1 Keyboard
2.2 Monitor
2.3 Mouse
2.4 Printer
2.5 Scanner
2.6 Digital Camera
2.7 Modem
2.8 UPS                                                                                                                                             
Software                                                                                                                                                                     
   ซอฟต์แวร์(software) หมายถึง ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงหมายถึง ลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยคำสั่งของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากที่ทราบมาแล้วว่าคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง การทำงานพื้นฐานเป็นเพียงการกระทำกับข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสอง ซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือแม้แต่เป็นเสียงพูดก็ได้ ซอฟต์แวร์นั้น นอกจากจะสามารถใช้งานบนคอมพิวเตอร์ได้แล้ว ยังสามารถใช้งานบนเครื่องใช้ หรืออุปกรณ์อื่น เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือ หุ่นยนต์ในโรงงาน หรือ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ
 คำว่า "ซอฟต์แวร์"  ใช้ครั้งแรกโดย  จอห์น ดับเบิลยู.  เทอร์กีย์  (John W. Turkey) ในปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) โดยแนวคิดของซอฟต์แวร์ปรากฏ ครั้งแรกในเรียงความของแอลัน ทัวริงบิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์ กล่าวกันว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชิ้นแรกของโลกเขียนโดยเอดาไบรอนเป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับเครื่องวิเคราะห์ (analytical engine) ของชาร์ลส แบบเบจ
 โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (computerprogram) ที่ใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นซอฟต์แวร์ เพราะเป็นลำดับขั้นตอนการทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งทำงานแตกต่างกันได้มากมายด้วยซอฟต์แวร์ที่แตกต่างกัน ซอฟต์แวร์จึงหมายรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกประเภทที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้การที่เราเห็นคอมพิวเตอร์ทำงานให้กับเราได้มากมาย เพราะว่ามีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาให้เราสั่งงานคอมพิวเตอร์  ร้านค้าอาจใช้คอมพิวเตอร์ทำบัญชีที่ยุ่งยากซับซ้อน บริษัทขายตั๋วใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในระบบการจองตั๋ว คอมพิวเตอร์ช่วยในเรื่องกิจการงานธนาคารที่มีข้อมูลต่าง ๆ มากมาย คอมพิวเตอร์ช่วยงานพิมพ์เอกสารให้สวยงาม เป็นต้น การที่คอมพิวเตอร์ดำเนินการให้ประโยชน์ได้มากมายมหาศาลจะอยู่ที่ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์จึงเป็นส่วนสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ หากขาดซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานได้ ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และมีความสำคัญมาก และเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ทำให้ระบบสารสนเทศเป็นไปได้ตามที่ต้องการ
 People ware
People ware หมายถึง บุคลากรในงานด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งาน สั่งงานเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการ แบ่งออกได้ 4 ระดับ ดังนี้
1. ผู้จัดการระบบ  (System anager)
2. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst)
 3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer)
4. ผู้ใช้ (User)พีเพิลแวร์ (People ware) คือ บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ พีเพิลแวร์หรือบุคลากรด้านคอมพิวเตอร์นับว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด เพราะบุคคลากรจะเป็นผู้จัดการหรือผู้ดำเนินงานให้ระบบคอมพิวเตอร์ดำเนินต่อไปได้เราสามารถแบ่งบุคลากรเป็นกลุ่ม ๆ ตามหน้าที่การทำงานได้ดังต่อไปนี้
1. นักวิเคราะห์ระบบงาน (System Analysist :SA) คือ บุคลากรที่ทำหน้าที่ในการติดต่อประสานงานกับผู้ใช้โปรแกรม ผู้จัดองค์กรและโปรแกรมเมอร์ ทำการศึกษาวิเคราะห์ระบบงานเดิม ออกแบบระบบงานใหม่ ติดตั้งระบบงานใหม่ รวมทั้งประเมินผลระบบงาน นักวิเคราะห์ระบบต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถมากกว่าโปรแกรมเมอร์ จบการศึกษาสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาบริหารธุรกิจ สาขาคณิตศาสตร์ ศึกษาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีใหม่อย่างสม่ำเสมอ ปัจจุบันยังขาดแคลนนักวิเคราะห์ระบบงานที่มีความรู้ความชำนาญ เพราะนักวิเคราะห์ระบบส่วนใหญ่ต้องอาศัยประสบการณ์สูง เช่น ฝ่ายการเงินต้องการนำคอมพิวเตอร์มาคิดคำนวณเรื่องรายรับ รายจ่ายของบริษัท นักวิเคราะห์ระบบก็ต้องศึกษาในเรื่องของการเงิน ขั้นตอนการทำงานของฝ่ายการเงิน กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเงิน เมื่อศึกษารายละเอียดข้อมูลได้ตามต้องการแล้วนักวิเคราะห์ระบบจึงดำเนินการออกแบบระบบใหม่ที่ใช้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลด้านการเงินต่อไป
2. โปรแกรมเมอร์ (Programmer) คือ   บุคลากรที่ทำหน้าที่นำระบบงานใหม่ที่นักวิเคราะห์ระบบได้ออกแบบไว้มาสร้างเป็นโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง โดยทำการเลือกภาษาคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับระบบงานนั้น ๆ ต้องมีความรู้ในเรื่องการใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ แนวคิดแบบตรรกะ (Logic) ของโปรแกรม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเอกสารที่ได้จากการออกแบบระบบ เทคนิคการออกแบบระบบงาน ทำงานร่วมกันเป็นทีม
3. วิศวกรระบบ (System Engineer) คือ บุคลากรที่ทำหน้าที่ออกแบบ สร้าง ซ่อม บำรุง และดูแลรักษาฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ ต้องมีความรู้เกี่ยวกับ โครงสร้างของฮาร์ดแวร์   หลักการทำงานของฮาร์ดแวร์   สามารถออกแบบและติดตั้งฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ได้
4. ผู้บริหารระบบงาน (Administrator) คือ ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารระบบงานหรือองค์กรด้านคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็นกลุ่ม ๆ ได้ดังนี้ - ผู้บริหารศูนย์คอมพิวเตอร์ (Computer Center Administrator) คือบุคลากรทำหน้าที่บริหารศูนย์หรือองค์กรทางด้านคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ มีหน้าที่กำหนดนโยบายและวางแผนการบริหารเพื่อให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย – ผู้บริหารฐานข้อมูล
 (Database Administrator : DBA) คือ บุคลากรที่ทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและวางแผนการบริหารการจัดการฐานข้อมูลและการดูแลรักษาฐานข้อมูลขององค์กร
5. พนักงานปฏิบัติการ (Operator)   คือ บุคลากร ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ หรือภารกิจประจำวันที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์
6.  ผู้ใช้ (User) คือ กลุ่มบุคลากรที่เป็นผู้ใช้ (User) และเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบงานของคอมพิวเตอร์ในฐานะผู้ใช้ระบบงานหรือเป็นผู้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ตามวัตถุประสงค์ของตนเองหรือตามหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติในภารกิจประจำวันของตนเอง
 Data                                                                                                                                                                                    ข้อมูล (Data)   หมายถึง   ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของสถานที่   ฯลฯ   โดยอยู่ในรูปแบบที่ เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมายและการประมวลผล    ซึ่งข้อมูลอาจจะ ได้มาจากการสังเกต การรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลขหรือสัญลักษณ์ใด ๆ ที่สำคัญจะ ต้องมีความเป็นจริงและต่อเนื่องตัวอย่างของข้อมูล เช่น คะแนนสอบ ชื่อนักเรียน  เพศ   อายุ         เป็นต้น
 Information                                                                                                                                                      
- สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลต่างๆ ที่ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงหรือมี การประมวลหรือวิเคราะห์ผลสรุปด้วยวิธีการต่างๆ ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์กัน มีความหมาย มีคุณค่าเพิ่มขึ้นและมีวัตถุประสงค์ในการใช้งาน (ไพโรจน์ คชชา, 2542)
- สารสนเทศ (Information) หมายถึง ความรู้หรือข้อมูลและข้อเท็จจริงต่างๆ ที่ได้รับการประมวลแล้วและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ (มนตรี ดวงจิโน, 2546)
- วิเศษศักดิ์ โคตรอาษา (2542) ได้ให้ความหมาย สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่ได้ถูกกระทำให้มีความสัมพันธ์หรือความหมายนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น การเก็บข้อมูล การขายรายวันแล้วนำการประมวลผล เพื่อหาว่าสินค้าใดมียอดขายสูงที่สุด เพื่อจัดทำแผนการขายในเดือนต่อไป ซึ่งสารสนเทศมีประโยชน์ คือ
1. ให้ความรู้
2. ทำให้เกิดความคิดและความเข้าใจ
3. ทำให้เห็นสภาพปัญหา สภาพการเปลี่ยนแปลงว่าก้าวหน้าหรือตกต่ำ
4. สามารถประเมินค่าได้
 2. หากนักศึกษาเป็นเจ้าของธุรกิจ ดังต่อไปนี้ (เลือก 1 ธุรกิจ) จะนำองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ ได้แก่ Hardware, Software และ People ware ใดมาใช้ในธุรกิจบ้าง เพราะเหตุใดจงอธิบาย
เลือกประกอบธุรกิจร้านขายของสะดวกซื้อ
เครื่องบันทึกเงินสด

เครื่องบันทึกเงินสด ( Electronic Cash Register หรือ ECR) หน้าที่ของมันคือ นอกจากคำนวณเงินที่ขายสินค้าได้ เครื่องนี้ยังเป็นแหล่งข้อมูลดิบที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภคโดยตรง เพราะทันทีที่สินค้าถูกขายออกไป ข้อมูล ทั้งหมดที่เกี่ยวกับตัวสินค้าที่ขายได้ทุกชิ้น ประเภท ยี่ห้อ ราคา จำนวน ข้อมูล เหล่านี้จะถูกส่งไปยังเครื่องพีซี ที่ตั้งอยู่ หลังร้าน 

สแกนบาร์โค้ด                

                          
 เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode reader) ตัวเลขของรหัสสินค้าที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลของระบบสินค้าคงคลังจะมีจำนวนหลักค่อนข้างมาก เมื่อต้องการเรียกใช้หรือตรวจสอบโดยการป้อนข้อมูลผ่านแป้นพิมพ์จะทำให้เกิดการผิดพลาดได้ง่าย จึงเกิดแนวคิดในการพิมพ์รหัสสินค้าออกมาเป็นแบบแท่งรหัสสีดำและขาวต่อเนื่องกันไปเรียกว่า บาร์โค้ด ซึ่งนำไปใช้พิมพ์ในรหัสสินค้าอุปโภคและบริโภคทั่วไป เพื่อสะดวกในการเช็คสินค้าคงเหลือรวมไปถึงการคิดเงินนั่นเอง เครื่องอ่านรหัสเราเรียกว่าเครื่องอ่านบาร์โค้ด มีหลายรูป เช่น แบบมีด้ามจับคล้ายปืน หรือบางแบบก็ฝังในแท่นของเครื่องเก็บเงินสดเลย พบเห็นได้ตามจุดบริการขาย (POS - Point Of Sale) ในร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ หรือห้างสรรพสินค้าทั่วไป

เครื่องพีซี


เครื่องพีซี จะทำหน้าที่จัดการข้อมูลภายในร้านทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการบริหารเงิน บริหารสินค้า 
                                                    
กล้องวงจรปิด                            

                     
<!--[if !vml]--><!--[endif]--> <!--[if !vml]--><!--[endif]-->
กล้องวงจรปิด   ระบบกล้องวงจรปิด คือ CCTV ( Closed Circuit Television System ) ก็คือระบบของ กล้องที่มีไว้บันทึกภาพเคลื่อนไหว ที่นำไปติดไว้ตามที่ต่างๆ มายังส่วนที่เรียกว่า เครื่องบันทึกภาพและเสียงที่เรียกว่า เครื่อง DVR ( Digital Video Recorder ) ซึ่งตัว DVR ก็จะสามารถต่อกับตัว Monitor ได้เพื่อที่เอาไว้สอดส่องอยู่ตลอดเวลาส่วนมากระบบ กล้องวงจรปิด CCTV มักจะนำไปใช้ในระบบ เพื่อการรักษาความปลอดภัย ของสำนักงาน และ ห้างร้านต่างๆ รวมไปถึง ที่อยู่อาศัยต่าง ๆนอกจากนั้นยังมีหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของพนักงาน และตรวจสอบพฤติกรรมของลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ
พนักงานประจำร้าน
บุคคลากรในด้านงานคอมพิวเตอร์ สำหรับสั่งงานคอมพิวเตอร์ให้ทำตามที่ต้องการ

3. ให้นักศึกษา แสดงข้อมูล จำนวน 1 ชุด พร้อมทั้งแสดงในรูปแบบของระบบสารสนเทศ       
ข้อมูล
จำนวนพนักงานแต่ละแผนกของ บริษัท ศิริวัฒน์ ซัพพลาย จำกัด
1. แผนกบัญชี จำนวน 10 คน
2. แผนกขาย   จำนวน 9คน
3. แผนกจัดซื้อ จำนวน 3 คน
4. แผนกการตลาด จำนวน 3คน
5. แผนกคลังสินค้า จำนวน 15 คน
6. แผนกจัดส่งสินค้า จำนวน 20  คน    
จำนวนพนักงานทั้งหมด 60 คน     
สารสนเทศ
จำนวนพนักงานแต่ละแผนกบริษัท ศิริวัฒน์ ซัพพลาย จำกัด


Part >> 2
 
เรื่อง "การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์"

1.ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิคส์  แบ่งได้กี่วิธี อะไรบ้าง
การประมวลผลข้อมูลด้วยอิเล็กทรอนิคส์  แบ่งได้ 3วิธี
1. ขั้นเตรียมข้อมูล
2. ขั้นตอนการประมวลผล
3. ขั้นตอนการแสดงผลลัพธ์
1. ขั้นเตรียมข้อมูล
ขั้นเตรียมข้อมูล(Input) เป็นการจัดเตรียมข้อมูลที่รวบรวมมาแล้วให้อยู่ในลักษณะที่สะดวกต่อการประมวลผล แบ่งเป็นขั้นตอนย่อย ๆ ดังนี้
1.1 การลงรหัส
1.2 การตรวจสอบ
1.3 การจำแนก
1.4 การบันทึกข้อมูลลงสื่อ
2. ขั้นตอนการประมวลผล
ขั้นตอนการประมวลผล(Processing) เป็นวิธีการจัดการกับข้อมูล โดยนำข้อมูลที่เตรียมไว้แล้วเข้าเครื่อง แต่ก่อนที่เครื่องจะทำงานต้องมีโปรแกรมสั่งงานซึ่งโปรแกรมเมอร์ (Processing) เป็นผู้เขียน เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการประมวลผลจนกระทั่งได้ผลลัพธ์ออกมาและยังคงเก็บไว้ในเครื่องขั้นตอนต่าง ๆ อาจเป็นดังนี้
2.1 การคำนวณ
2.2 การเรียงลำดับข้อมูล
2.3 การสรุป
2.4 การเปรียบเทียบ
3. ขั้นตอนการแสดงผลลัพธ์
 ขั้นตอนการแสดงผลลัพธ์ (Output) เป็นงานที่ได้หลังจากผ่านการประมวลผลแล้วเป็นขั้นตอนในการแปลผลลัพธ์ที่เก็บอยู่ในเครื่อง ให้ออกมาอยู่ในรูปที่สามารถเข้าใจง่ายได้แก่ การนำเสนอในรูปแบบรายงาน เช่น แสดงผลสรุปตารางรายงานการบัญชี รายงานทางสถิติ รายงานการวิเคราะห์ต่าง ๆ หรืออาจแสดงด้วยกราฟ เช่น แผนภูมิ หรือรูปภาพสรุปขั้นตอนการประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์

2.จงเรียงลำดับโครงสร้างข้อมูลจากขนาดเล็กไปใหญ่ พร้อมอธิบายความหมายของโครงสร้างข้อมูลแต่ละแบบ

โครงสร้างข้อมูล (Data Structure) ขนาดเล็กไปใหญ่


1. บิท (Bit) คือ ข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด เป็นข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ และใช้งานได้ ได้แก่ 0 หรือ 1
2.ตัวอักขระ (Character) หมายถึงสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ใช่ในภาษามนุษย์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. ตัวเลข (Numeric) คือ เลขฐาน 10 ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 0,1,2,3,4,5,6,7,8,9
2. ตัวอักษร (Alphabetic) คือ ตัวอักษร A ถึง Z
3. สัญลักษณ์พิเศษ (Special symbol) เช่น เครื่องหมายคณิตศาสตร์และสัญลักษณ์
ต่างๆ เช่น  +,-,*, /, ? ,#,& เป็นต้น
3. ฟิลด์ (Field)  คือ อักขระที่มารวมกันแล้วก่อให้เกิดความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ชื่อ-สกุล อายุ เงินเดือน ที่อยู่ เป็นต้น
4. เรคคอร์ด (Record) คือ ฟิลด์ที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กันมารวมกัน เช่น เรคคอร์ด นักศึกษาจะประกอบด้วยรายละเอียดของข้อมูลนักศึกษา ได้แก่ รหัสประจำตัวนักศึกษา ชื่อ นักศึกษา เพศ อายุ วิชาเอก เป็นต้น ฉะนั้นข้อมูลนักศึกษา 1 คน จะเป็น 1 เรคคอร์ด
5. ไฟล์ (File) คือ เรคคอร์ดหลายๆ เรคคอร์ดที่เกี่ยวข้องกันมารวมกัน เช่น แฟ้มข้อมูลนักศึกษา จะประกอบด้วยเรคคอร์ดของนักศึกษาแต่ละคนนั่นเอง
6.ฐานข้อมูล (Database) คือ หลายไฟล์ข้อมูลมารวมกัน เช่น ไฟล์ข้อมูลนักเรียนมารวมกันในงานทะเบียน แล้วรวมกับไฟล์การเงิน
ไบต์ (Byte) ได้แก่ ตัวอักษร เป็นการนำเอาบิตมารวมกัน โดย 8 Bit = 1 Byte


โครงสร้างแฟ้มข้อมูล
การใช้คอมพิวเตอร์จัดการระบบฐานข้อมูลนั้น ข้อมูลของเอนทิตีต่าง ๆ จะได้รับการนำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่เก็บไว้อาจได้รับการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมหรือตัดออกได้ การเก็บข้อมูลจะทำการเก็บข้อมูลไว้หลาย ๆ เอนทิตี และเมื่อมีการเรียกใช้อาจนำเอาข้อมูลจากหลาย ๆ เอนทิตีนั้นมาสัมพันธ์กันเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ
การจัดเก็บข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่ถือว่ามีประสิทธิภาพ คือ การใช้เนื้อที่ในการจัดเก็บข้อมูลน้อยที่สุด และจะต้องเรียกค้นหาข้อมูลได้ง่าย ดังนั้นจึงมีการแบ่งเอนทิตีออกเป็นส่วนย่อย ๆ เพื่อใช้เรียกข้อมูลย่อย ส่วนย่อยของเอนทิตีนี้เรียกว่า เขตข้อมูล (Field) ดังตัวอย่างโครงสร้างแฟ้มข้อมูลพนักงาน

ฐานข้อมูล (Data base)


3.หากนำเอาระบบฐานข้อมูลมาใช้ในหน่วยงานที่นักศึกษาทำงานอยู่ สามารถมีแฟ้มข้อมูลใดบ้าง และระบบฐานข้อมูลนั้นมีประโยชน์ต่อองค์กรอย่างไร

แสดง : ตัวอย่างข้อมูลตามรูปแบบจำลองข้อมูลเชิงสัมพันธ์
ข้อมูล บริษัท ศิริวัฒน์ ซัพพลาย จำกัด

เลือก แบบจำลองฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database Model)
มีประโยชน์สำคัญ เพื่อความสะดวกในการใช้ข้อมูล และช่วยให้การรักษาความปลอดภัยของฐานข้อมูลทำได้ง่ายขึ้น Relation ที่ถูกสมมติขึ้นมานี้จะไม่มีการเก็บข้อมูลจริง ๆ ในระบบฐานข้อมูล
ข้อดี
-สามารถสื่อสารและทำความเข้าใจได้ง่าย
-สามารถทำการเลือกแสดงข้อมูลได้ตามเงื่อนไขได้หลาย key field
-ความซ้ำซ้อนของข้อมูลมีน้อยมาก
-มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีซึ่งผู้ใช้นั้นไม่จำเป็นต้องทราบถึงโครงสร้างการเก็บข้อมูลภายในฐานข้อมูล
-โครงสร้างของฐานข้อมูลมีความเป็นอิสระจากโปรแกรม
ข้อจำกัด
-ไม่เหมาะสำหรับข้อมูลภาพและเสียง ในระบบฐานข้อมูลมัลติมีเดีย
4.จงอธิบายความแตกต่างระหว่างการประมวลผลข้อมูลแบบแบทช์และแบบเรียลไทม์
วิธีการประมวลแบบแบทซ์ (Batch Processing) เป็นการประมวลผลโดยเก็บรวบรวมข้อมูลหรือคำสั่งไว้ปริมาณ หนึ่งแล้วจึงนำงานชุดหรือแบทซ์ นั้นส่งเข้าประมวลผลต่อไป วิธีการประมวลผลแบบนี้มีใช้มาตั้งแต่คอมพิวเตอร์ยุคแรก การประมวลผลแบบแบทซ์พิจารณาได้ 2 ด้าน คือ ในด้านของผู้ใช้เครื่องและในด้านของผู้มีหน้าที่ควบคุมเครื่อง
1.ในด้านผู้ใช้เครื่อง ผู้ใช้เครื่องหรือเจ้าของงานที่ต้องการประมวลผลทำการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้เป็นชุดแล้วจึงส่งเข้า ประมวลผลโดยทั่วไปผู้ใช้ถือเครื่องเอาคาบเวลาเป็นตัวกำหนดการส่งงานเข้าเครื่อง
2.ในด้านของผู้ควบคุมเครื่อง ผู้ควบคุมเครื่องทำการรวบรวมงานที่ผู้ใช้ส่งมาเพื่อรอเข้าประมวลผลเป็นชุดแล้วจึงส่งเข้า ทำงานในเครื่องครั้งละชุด ศูนย์คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มีการกำหนดเวลาในการส่งเข้า เช่น ส่งเข้าทุก 2 ชั่วโมง ไม่ว่าจะเป็นการประมวลผลแบบแบทซ์ในด้านใดปัญหาของการทำงานที่เห็นได้ชัด คือ การประมวลผลแบบแบทซ์ต้อง ใช้เวลา แต่งานในปัจจุบันต้องการผลที่เร่งด่วนและผู้บริหารต้องการรู้ข้อมูลที่ล่าสุด เพื่อใช้ในการตัดสินใจได้ทันต่อ สถานการณ์ การประมวลผลแบบแบทซ์จึงไม่สามารถ ช่วยงานในลักษณะที่ได้เต็มที่ ลักษณะงานที่เหมาะสมกับการ ประมวลผลแบบแบทซ์ คือ
- งานที่มีข้อมูลส่งเข้าประมวลผลจำนวนมาก จำเป็นต้องมีการรอเพื่อบันทึกข้อมูลลงสื่อข้อมูลคอมพิวเตอร์
- งานที่มีการปรับปรุงข้อมูลในแฟ้มข้อมูลเป็นจำนวนมากต่อการประมวลผลแต่ละครั้ง เช่น การปรับปรุงคะแนนสะสมของ นักศึกษาเมื่อสิ้นภาคการศึกษา ข้อมูลของนักศึกษาทุกคนจะถูกปรับปรุงใหม่
วิธีการประมวลระบบเรียล-ไทม์ (Real-time) เป็นระบบออนไลน์ ที่มีลักษณะคล้ายกับไทม์-แชริง แต่แตกต่างกันที่งานที่ประมวลผล เป็นงานเดียวมีผู้ร่วมใช้หลายคน เทอร์มินัลทุกจุดถูกควบคุมด้วยโปรแรกมเดียวกันเพื่อให้เครื่องสามารถติดต่อกับผู้ใช้ทุก คน จึงมีการแบ่งโปรแกรมเป็นชุดย่อย ๆ ในโปรแกรมชุดย่อยเหล่านี้ทำงานไปพ้อม ๆ กันได้
ระบบการประมวลแบบออน-ไลน์ เหมาะสมกับงานซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้
-  งานที่มีข้อมูลส่งเข้าประมวลผลจำนวนน้อย
- งานที่ไม่มีการปรับปรุงแฟ้มข้อมูลทั้งหมดในการประมวลผลแต่ละครั้ง แต่เป็นการปรับปรุงบางรายการเท่านั้น
-  งานที่มีการแสดงผลจำนวนน้อย ไม่มีการพิมพ์รายงานขนาดใหญ่
- งานที่ต้องการความรวดเร็ว
การประมวลผลข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์นั้นสามารถจำแนกได้ 2 แบบใหญ่ ๆ คือ การประมวลผลแบบกลุ่ม (Batch Processing) และการประมวลผลแบบเชื่อมตรง (On-Line Processing)
การประมวลผลแบบกลุ่ม
การประมวลผลแบบกลุ่มเป็นการเก็บข้อมูลที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งรวมเข้าไว้ด้วยกันเป็นชุด ๆ หรือเป็นจำนวนมากก่อน แล้วจึงทำการบันทึกข้อมูลดังกล่าวเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ในเวลาถัดมา เมื่อข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้ในระบบคอมพิวเตอร์มีปริมาณมากพอควรแล้วหรือเมื่อถึงกำหนดเวลาที่ได้มีการระบุไว้แน่นอน (Fixed Intervals) จึงค่อยทำการประมวลผลหรือส่งเข้าไปทำการปรับปรุง/เปลี่ยนแปลงแฟ้มข้อมูลที่เก็บไว้ในหน่วยความจำสำรอง
การประมวลผลแบบกลุ่มเป็นวิธีการประมวลผลที่ประหยัดค่าใช้จ่าย และเหมาะสำหรับงานที่ไม่จำเป็นต้องประมวลผลในทันทีทันใดที่เกิดรายการข้อมูลขึ้น ตัวอย่างเช่น ระบบการรับ-จ่ายเงินเดือน ระบบการจัดทำใบเรียกเก็บเงิน เป็นต้น หากทว่าข้อจำกัดที่สำคัญของระบบการประมวลผลแบบกลุ่ม คือ ข้อมูลหรือข่าวสารที่มีเก็บรวบรวมไว้อาจไม่เป็นปัจจุบัน
การประมวลผลแบบเชื่อมตรง
ในการประมวลผลแบบเชื่อมตรง ข้อมูลจะถูกส่งจากแหล่งกำเนิดในพื้นที่ต่าง ๆ ผ่านทางแผงแป้นอักขระของเครื่องปลายทางไปยังหน่วยประมวลผลกลางในทันทีที่มีรายการข้อมูลเกิดขึ้น เพื่อนำ ข้อมูลดังกล่าวไปประมวลผลในหน่วยประมวลผลกลางหรือไปทำการปรับปรุง/เปลี่ยนปลงแฟ้มข้อมูลในหน่วยความจำสำรองโดยตรง
ข้อดีของการประมวลผลแบบเชื่อมตรง คือ
เนื่องจากข้อมูลที่เก็บบันทึกไว้ในระบบคอมพิวเตอร์จะเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ ดังนั้น ผู้บริหารสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลในการวางแผนและการตัดสินใจได้ทันเวลาและมีประสิทธิภาพ รวมทั้ง การประมวลผลแบบเชื่อมตรงจะเป็นการช่วยลดความผิดพลาดและความเสียหายในการเคลื่อนย้ายข้อมูลจากแหล่งกำเนิดข้อมูลไปยังหน่วยประมวลผลกลางได้ หากข้อจำกัดของการประมวลผลแบบเชื่อมตรง คือ ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการจัดทำระบบการประมวลผลแบบเชื่อมตรงค่อนข้างสูง

ที่มา://www.ning24.freeservers.com/fteen.html
ที่มา://www.202.29.8.1/~nong/4121201/Fream3.html#three
ที่มา://www.uni.net.th/~16_2543/Unit1.3.htm


Part >> 3

เรื่อง  “การสื่อสารข้อมูลบนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์”



1.สื่อกลางประเภทมีสายแต่ละประเภท มีข้อดีและข้อเสีย   อย่างไรบ้าง จงเปรียบเทียบ
ได้แก่ 
สายทองแดงแบบไม่หุ้มฉนวน (Unshield Twisted Pair) มีราคาถูกและนิยมใช้กันมากที่สุด ส่วนใหญ่มักใช้กับระบบโทรศัพท์
สายทองแดงแบบไม่หุ้มฉนวน

สายทองแดงแบบหุ้มฉนวน (Shield Twisted Pair) มีลักษณะเป็นสองเส้น มีแนวแล้วบิดเป็นเกลียวเข้าด้วยกันเพื่อลดเสียงรบกวน มีฉนวนหุ้มรอบนอก มีราคาถูก ติดตั้งง่าย น้ำหนักเบาและการรบกวนทางไฟฟ้าต่ำ สายโทรศัพท์จัดเป็นสายคู่บิดเกลียวแบบหุ้มฉนวน
สายทองแดงแบบหุ้มฉนวน

 สายโคแอคเชียล (Coaxial) สายแบบนี้จะประกอบด้วยตัวนำที่ใช้ในการส่งข้อมูลเส้นหนึ่งอยู่ตรงกลางอีกเส้นหนึ่งเป็นสายดิน ระหว่างตัวนำสองเส้นนี้จะมีฉนวนพลาสติกกั้นสายโคแอคเชียลแบบหนาจะส่งข้อมูลได้ไกลหว่าแบบบางแต่มีราคาแพงและติดตั้งได้ยากกว่า
สายโคแอคเชียล

ใยแก้วนำแสง (Optic Fiber) ทำจากแก้วหรือพลาสติกมีลักษณะเป็นเส้นบางๆ คล้าย เส้นใยแก้วจะทำตัวเป็นสื่อในการส่งแสงเลเซอร์ที่มีความเร็วในการส่งสัญญาณเท่ากับความเร็วของแสง

ใยแก้วนำแสง

สื่อกลางประเภทมีสายมีข้อดีข้อเสีย สามารถแยกแต่ละประเภทได้ดังนี้
สื่อกลางประเภทมีสาย

ข้อดี
ข้อเสีย
1.ป้องกันสัญญาณรบกวน
1.ไม่สามารถใช้รับ-ส่งสัญญาณได้เกิน 185 เมตร
2.มีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล 10/100Mbps
2.มีความเร็วในการส่งข้อมูลต่ำ
3.มีฉนวนด้านนอกหนา
3.อัตราเร็วในการส่งข้อมูลจะน้อยกว่าสายสัญญาณแบบอื่น
4.ใช้งานในการเชื่อมต่อระยะทางใกล้ๆ
4.มีข้อจำกัดเรื่องความยาวของสายสัญญาณ
5.เสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้งน้อย

6.ใช้อย่างกว้างขวางในระบบโทรศัพท์


2.การนำระบบเครือข่ายมาใช้ในองค์กร มีประโยชน์อย่างไร
การใช้อุปกรณ์ร่วมกัน (Sharing of peripheral devices)
 เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้ผู้ใช้ สามารถใช้อุปกรณ์ รอบข้างที่ต่อพ่วงกับระบบคอมพิวเตอร์ ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเครื่องพิมพ์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม สแกนเนอร์ โมเด็ม เป็นต้น ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องซื้ออุปกรณ์ที่มีราคาแพง เชื่อมต่อพ่วงให้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง  
การใช้โปรแกรมและข้อมูลร่วมกัน (Sharing of program and data)
 เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรม และข้อมูลร่วมกันได้ โดยจัดเก็บโปรแกรมไว้แหล่งเก็บข้อมูล ที่เป็นศูนย์กลาง เช่น ที่ฮาร์ดดิสก์ของเครื่อง File Server ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรมร่วมกัน ได้จากแหล่งเดียวกัน ไม่ต้องเก็บโปรแกรมไว้ในแต่ละเครื่อง ให้ซ้ำซ้อนกัน นอกจากนั้นยังสามารถรวบรวม ข้อมูลต่าง ๆ จัดเก็บเป็นฐานข้อมูล ผู้ใช้สามารถใช้สารสนเทศ จากฐานข้อมูลกลาง ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร ์ที่ใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย โดยไม่ต้องเดินทางไปสำเนาข้อมูลด้วยตนเอง เพราะใช้การเรียกใช้ข้อมูล ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั่นเอง เครื่องลูก (Client) สามารถเข้ามาใช้ โปรแกรม ข้อมูล ร่วมกันได้จากเครื่องแม่ (Server) หรือระหว่างเครื่องลูกกับเครื่องลูกก็ได้ เป็นการประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บโปรแกรม ไม่จำเป็นว่าทุกเครื่องต้องมีโปรแกรมเดียวกันนี้ในเครื่องของตนเอง
สามารถติดต่อสื่อสารระยะไกลได้ (Telecommunication)
การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เป็นเครือข่าย ทั้งประเภทเครือข่าย LAN , MAN และ WAN ทำให้คอมพิวเตอร์ สามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูล ระยะไกลได้โดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ทางด้านการติดต่อสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีการให้บริการต่าง ๆ มากมาย เช่น การโอนย้ายไฟล์ข้อมูล การใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) การสืบค้นข้อมูล (Serach Engine) เป็นต้น  
สามารถประยุกต์ใช้ในงานด้านธุรกิจได้ (Business Applicability)
องค์กรธุรกิจ มีการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ เช่น เครือข่ายของธุรกิจธนาคาร ธุรกิจการบิน ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจการท่องเที่ยว ธุรกิจหลักทรัพย์ สามารถดำเนินธุรกิจ ได้อย่างรวดเร็ว ตอบสนองความพึงพอใจ ให้แก่ลูกค้าในปัจจุบัน เริ่มมีการใช้ประโยชน์จากเครือข่าย Internet เพื่อทำธุรกิจกันแล้ว เช่นการสั่งซื้อสินค้า การจ่ายเงินผ่านระบบธนาคาร เป็นต้น  
ความประหยัด
                นับเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า อย่างเช่นในสำนักงานหนึ่งมีเครื่องอยู่ 30 เครื่อง หรือมากกว่านี้ ถ้าไม่มีการนำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้  จะเห็นว่าต้องใช้เครื่องพิมพ์อย่างน้อย 5 - 10 เครื่อง มาใช้งาน แต่ถ้ามีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้แล้วละก้อ ก็สามารถใช้อุปกรณ์ หรือเครื่องพิมพ์ประมาณ 2-3 เครื่องก็พอต่อการใช้งานแล้ว เพราะว่าทุกเครื่องสามารถเข้าใช้เครื่องพิมพ์เครื่องใดก็ได้ ผ่านเครื่องอื่น ๆ ที่ในระบบเครือข่ายเดียวกัน
ความเชื่อถือได้ของระบบงาน  
นับเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจ ถ้าทำงานได้เร็วแต่ขาดความน่าเชื่อถือก็ถือว่าใช้ไม่ได้ ไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นเมื่อนำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มาใช้งาน ทำระบบงานมีประสิทธิภาพ มีความน่าเชื่อถือของข้อมูล เพราะจะมีการทำสำรองข้อมูลไว้ เมื่อเครื่องที่ใช้งานเกิดมีปัญหา ก็สามารถนำข้อมูลที่มีการสำรองมาใช้ได้ อย่างทันที 
3.หากนำระบบเครือข่ายมาใช้ในองค์กรนักศึกษาจะเลือกรูปแบบของระบบเครือข่าย(LAN Topology) แบบใดเพราะอะไร
แบบ Star(แบบดาว) การเชื่อมต่อแบบสตาร์นี้จะใช้อุปกรณ์ Hub เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ โดยที่ทุกเครื่องจะต้องผ่าน Hub สายเคเบิ้ลที่ใช้ส่วนมากจะเป้น UTP และ Fiber Optic ในการส่งข้อมูล Hub จะเป็นเสมือนตัวทวนสัญญาณ (Repeater) ปัจจุบันมีการใช้ Switch เป็นอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อซึ่งมีประสิทธิภาพการทำงานสูงกว่า
แบบ Starจะเป็นลักษณะของการต่อเครือข่ายที่ Work station แต่ละตัวต่อรวมเข้าสู่ศูนย์กลางสวิตซ์ เพื่อสลับตำแหน่งของเส้นทางของข้อมูลใด ๆ ในระบบ ดังนั้นใน โทโปโลยี แบบดาว คอมพิวเตอร์จะติดต่อกันได้ใน 1 ครั้ง ต่อ 1 คู่สถานีเท่านั้น เมื่อสถานีใดต้องการส่งข้องมูลมันจะส่งข้อมูลไปยังศูนย์กลางสวิทซ์ก่อน เพื่อบอกให้ศูนย์กลาง สวิตซ์มันสลับตำแหน่งของคู่สถานีไปยังสถานีที่ต้องการติดต่อด้วย ดังนั้นข้อมูลจึงไม่เกิดการชนกันเอง ทำให้การสื่อสารได้รวดเร็วเมื่อสถานีใดสถานีหนึ่งเสีย ทั้งระบบจึงยังคงใช้งานได้ ในการค้นหาข้อบกพร่องจุดเสียต่างๆ จึงหาได้ง่ายตามไปด้วย แต่ก็มีข้อเสียที่ว่าต้องใช้งบประมาณสูงในการติดตั้งครั้งแรก

เพราะมีข้อดีคือ  ติดตั้งและดูแลง่าย แม้ว่าสายที่เชื่อมต่อไปยังบางโหลดจะขาด โหลดที่เหลืออยู่ก็ยังจะสามารถทำงานได้ ทำให้ระบบเน็ตเวิร์กยังคงสามารถทำงานได้เป็นปกติ การมี Central node อยู่ตรงกลางเป็นตัวเชื่อมระบบ ถ้าระบบเกิดทำงานบกพร่องเสียหาย ทำให้เรารู้ได้ทันทีว่าจะไปแก้ปัญหาที่ใด
4.อินเทอร์เน็ตมีข้อดีต่อระบบการศึกษาไทยอย่างไร
1. สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์ และอื่นๆ ที่น่าสนใจ
2. ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่เสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
3. นักศึกษาในมหาวิทยาลัย สามารถใช้อินเทอร์เน็ต ติดต่อกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็น ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ เป็นต้น
4. เปิดโอกาสให้ครูอาจารย์ นักเรียน และนักศึกษา สามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ที่หลากหลายหรือเสมือนหนึ่งมี
"ห้องสมุดโลก" (Library of the World)
5. พัฒนาการสื่อสารระหว่างครูกับนักเรียน ซึ่งมีผลสืบเนื่องมาจากการที่อินเทอร์เน็ต สามารถให้บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีความสะดวก รวดเร็ว แม่นยำ และง่ายต่อการใช้ ทำให้เกิดการสื่อสารเพิ่มมากขึ้นในระบบการศึกษา ทั้งที่เป็นการสื่อสาร ระหว่าง ครูกับครู ครูกับนักเรียน และระหว่างนักเรียนกับนักเรียนเอง
6.  เปลี่ยนบทบาทของครูและนักเรียน การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนการสอน จะทำให้บทบาทของครูปรับเปลี่ยนไปจากการเน้นความเป็น "ผู้สอน" มาเป็น "ผู้แนะนำ" มากขึ้น  ในขณะที่กระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนจะเป็นการเรียนรู้ "เชิงรุก" มากขึ้นทั้งนี้  เนื่องจากฐานข้อมูลในอินเทอร์เน็ตเป็นปัจจัยบวก ที่สำคัญที่จะเอื้ออำนวยให้นักเรียนสามารถเรียนและค้นคว้าได้ด้วยตนเอง (independent learning) ได้สะดวกรวดเร็ว และมากยิ่งขึ้น

ที่มา

 

Part >> 4
เรื่อง “จริยธรรมสารสนเทศและสิทธิทางปัญญา”

1.อาชญากรรมคอมพิวเตอร์คืออะไร จงอธิบายพร้อมยกตังอย่าง  
อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Crime)
1.  ประเด็นเกี่ยวกับการลักลอบนำเอาข้อมูลไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตรวมถึงการสร้างความเสียหายต่อบุคคลและสังคมสารสนเทศ โดยผู้ไม่ประสงค์ดี
2.  เกิดขึ้นสืบเนื่องจากการขาด จริยธรรมที่ดีนั่นเอง
3.  บางกรณีถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายเช่นเดียวกัน ซึ่งมีบทลงโทษแตกต่างกันไป
 ตัวอย่างเช่น
ไวรัสคอมพิวเตอร์ (Computer Virus)
1.  เขียนโดยนักพัฒนาโปรแกรมที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน
2.  การทำงานจะอาศัยคำสั่งที่เขียนขึ้นภายในตัวโปรแกรมเพื่อกระจายไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์เป้าหมาย
3.  แพร่กระจายโดยอาศัยคนกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งกับพาหะที่โปรแกรมไวรัสนั้นแฝงตัวอยู่ เช่น รันโปรแกรม อ่านอีเมล์ เปิดดูเว็บเพจ หรือเปิดไฟล์ที่แนบมา
วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือ  ควรติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสไว้ในเครื่องที่ใช้งานด้วยเพื่อคอยเฝ้าระวังไวรัสพวกนั้นเข้ามาทำร้ายเครื่องของเรา 
2.อธิบายความหมายของคำต่อไปนี้ 
:Hacker 
Hacker  หมายถึง  ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายในระดับ สูง จนสามารถสร้างแก้ไขและเจาะระบบ การทำงานของเครือข่ายหรือการทำงานของโปรแกรมต่างๆ ได้โดยมีวัตถุประสงค์ในทางดี เช่นแก้ไชปรับแต่งโปรแกรม แก้ไขที่บกพร่องให้สมบูรณ์หรือดูแลรักษาความปลอดภัยในระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์ให้มีเสถียรภาพปราศจากการก่อกวนหรือถูกโจมตีจากผู้ไม่ประสงค์ดี



:  Cracker
Cracker หมายถึง  ผู้เชี่ยวชาญการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายในระดับสูง จนสร้างและแก้ไขระบบเครือข่ายหรือโปรแกรมต่างๆ ได้เช่นเดียวกับ Hacker แต่มีวัตถุประสงค์ในทางที่ไม่ดี เช่น เจาะเข้าเครือข่ายของผู้อื่นพัฒนาโปรแกรมเพื่อใช้ในการขโมย password หรือข้อมูลสำคัญ เป็นต้น 


: สแปม  (Spam)
สแปม (อังกฤษ: spam) คือชื่อเรียกของการส่งข้อความที่ผู้รับไม่ได้ร้องขอ ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยส่วนมากจะทำให้เกิดความไม่พอใจต่อผู้รับข้อความ สแปมที่พบเห็นได้บ่อยได้แก่ การส่งสแปมผ่านทางอีเมล ในการโฆษณาชวนเชื่อ หรือโฆษณาขายของ โดยการส่ง อีเมลประเภทหนึ่งที่เราไม่ต้องการ ซึ่งจะมาจากทั่วโลก โดยที่เราไม่รู้เลยว่า ผู้ที่ส่งมาให้นั้นเป็นใคร จุดประสงค์คือ ผู้ส่งส่วนใหญ่ต้องการที่จะโฆษณา สินค้าหรือบริการต่าง ๆ ของบริษัทของตนเอง ซึ่งเป็นประเภทหนึ่งของเมลขยะซึ่งนอกจากจะทำให้ผู้รับรำคาญใจและเสียเวลาในการกำจัดข้อความเหล่านี้แล้ว สแปมยังทำให้ประสิทธิภาพการขนส่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตลดลงด้วย สแปมในรูปแบบอื่นนอกจาก อีเมลสแปม ได้แก่ เมสเซนเจอร์สแปม นิวส์กรุ๊ปสแปม บล็อกสแปมและเอสเอ็มเอสสแปม


: ม้าโทรจัร  (Trojan horse)
ม้าโทรจัน (อังกฤษ: Trojan horse) หมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกบรรจุเข้าไปในคอมพิวเตอร์ เพื่อลอบเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น เช่น ข้อมูลชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน เลขที่บัญชีธนาคาร หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ โดยส่วนใหญ่แฮกเกอร์จะส่งโปรแกรมเข้าไปในคอมพิวเตอร์เพื่อดักจับข้อมูลดังกล่าว แล้วนำไปใช้ในการเจาะระบบ และเพื่อโจมตีคอมพิวเตอร์, เซิร์ฟเวอร์, หรือระบบเครือข่ายอีกที ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อการโจมตีเพื่อ "ปฏิเสธการให้บริการ" (Denial of Services)



: สปายแวร์  (Spyware)
สปายแวร์ (spyware) หมายถึง ประเภทซอฟต์แวร์ที่ออกแบบเพื่อสังเกตการณ์หรือดักจับข้อมูล หรือควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยที่ผู้ใช้ไม่รับทราบว่าได้ติดตั้งเอาไว้ หรือผู้ใช้ไม่ยอมรับ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเพื่อสร้างผลประโยชน์แก่ผู้อื่น


3.จงยกตัวอย่างกฎหมาย  ICT หรือ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ มีอะไรบ้าง จงอธิบายถึงการกระทำผิดและลงโทษ  มา 5 ตัวอย่าง
พ.ร.บ.  คอมพิวเตอร์  2550  ฉบับชาวบ้าน
มาตรา 5. เจ้าของไม่ให้เข้าระบบคอมพิวเตอร์ของเขา แล้วเราแอบเข้าไป ... เจอคุก 6 เดือน
มาตรา 6. แอบไปรู้วิธีการเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของเขา แล้วเที่ยวไปโพนทะนาให้คนอื่นรู้ ... เจอคุกไม่เกินปี
มาตรา 7. ข้อมูลของเขา เขาเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ดี ๆ แล้วแอบไปล้วงของเขา ... เจอคุกไม่เกิน 2 ปี
มาตรา 8. เขาส่งข้อมูลหากันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบส่วนตั๊วส่วนตัว แล้วเราทะลึ่งไปดักจับข้อมูลของเขา ... เจอคุกไม่เกิน 3 ปี
มาตรา 9. ข้อมูลของเขาอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเขาดี ๆ เราดันมือบอนไปโมมันซะงั้น ... เจอคุกไม่เกิน 5 ปี
มาตรา 10. ระบบคอมพิวเตอร์ของชาวบ้านทำงานอยู่ดี ๆ เราดันยิง packet, message, virus, trojan, worm ... เข้าไปก่อกวนจนระบบเขาเดี้ยง ... เจอคุกไม่เกิน 5 ปี
มาตรา 11. เขาไม่ได้อยากได้ข้อมูลหรืออีเมลล์จากเราเล้ย เราก็ทำตัวเป็นอีแอบเซ้าซี้ส่งให้เขาซ้ำ ๆ อยู่นั่นแหล่ะ จนทำให้เขาเบื่อหน่ายรำคาญ ... เจอปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มาตรา 12. ถ้าเราทำผิดข้อ 5. กับ ข้อ 6. แล้วมันสร้างความพินาศใหญ่โตในระดับรากหญ้า งานนี้มีซวยแน่ เจอคุกสิบปีขึ้น
มาตรา 13. ถ้าเราสร้างซอฟต์แวร์ เพื่อช่วยให้ใคร ๆ ทำเรื่องแย่ ๆ ในข้อข้างบน ๆ ได้ ... เจอคุกไม่เกินปีนึงเหมือนกัน
มาตรา 14. โป๊ก็โดน, โกหกก็โดน, เบนโลก็โดน, ท้าทายอำนาจรัฐก็โดน ... เจอคุกไม่เกิน 5 ปี
มาตรา 15. ใครเป็นเจ้าของเว็บ แล้วยอมให้เกิดข้อ 10. โดนเหมือนกัน ... เจอคุกไม่เกิน 5 ปี
มาตรา 16. ถ้าเราเรียกให้ชาวบ้านเข้ามาดูงานของศิลปินข้างถนน ซึ่งชอบเอารูปชาวบ้านมาตัดต่อ เตรียมใจไว้เลยมีโดน ... เจอคุกไม่เกิน 3 ปี
มาตรา 17(1). เราทำผิดที่เว็บไซต์ซึ่งอยู่เมืองนอก แต่ถ้าเราเป็นคนไทย หึ ๆ อย่าคิดว่ารอด โดนแหง ๆ
มาตรา 17(2). ฝรั่งทำผิดกับเรา แล้วมันอยู่เมืองนอกอีกต่างหาก เราเป็นคนไทย ก็เรียกร้องเอาผิดได้เหมือนกัน 
กฎหมายออกมาแล้ว ก็คงต้องระวังตัวกันให้มากขึ้นนะพวกเรา ... จงถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท

ที่มา :


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น